การป้องกันและกำจัดปลวกโดยใช้น้ำยาเคมี
การป้องกันและกำจัดปลวกโดยใช้น้ำยาเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สำหรับอาคารบ้านเรือนที่มีการติดตั้งระบบท่อไว้แล้ว
สำหรับอาคารบ้านเรือนที่ได้มีการติดตั้งระบบท่อไว้แล้ว สามารถอัดน้ำยาเคมีกำจัดปลวกที่มีประสิทธิภาพสูง และอยู่ได้นานได้เลย โดยอัดผ่านหัวอัดน้ำยาเคมีที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆรอบตัวบ้าน น้ำยากำจัดปลวกที่อัดเข้าไปในท่อ จะเข้าไปกระจายเคลือบผิวดินใต้อาคาร ทำให้พื้นดินส่วนดังกล่าวเป็นพิษเกินกว่าที่ปลวกจะอาศัยอยู่ หรือแทรกตัวผ่านขึ้นมาทำลายตัวอาคารหรือบ้านเรือน สำหรับพื้นที่ภายในตัวบ้านหรืออาคาร จะทำการตรวจเช็คพื้นที่โดยละเอียดและทำการฉีดเคลือบน้ำยาตาม วงกบ ขอบประตู รอยแยก รอยแตกต่างๆ รวมถึงจุดที่เจอปัญหาปลวก รวมถึงฉีดพ่นน้ำยา ทั่วบริเวณรอบนอกอาคาร
2. สำหรับอาคารบ้านเรือนที่ไม่ได้วางระบบท่อไว้ใต้ตัวอาคาร
สำหรับอาคารบ้านเรือนที่ไม่ได้มีการติดตั้งท่อไว้ จะใช้เทคโนโลยีในการเจาะพื้นเพื่ออัดน้ำยาเคมีด้วยหัวเจาะ “หัวเพชร” ในการเจาะ ซึ่งจะมีความคมเป็นพิเศษ สามารถเจาะพื้นกระเบื้องได้ทุกชนิด รูที่เจาะมีความสวยงาม ไม่แตกร้าว หลังจากทำการอัดน้ำยาเคมีลงใต้พื้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการปิดรูที่เจาะด้วยจุกปิดสแตนเลสที่มีความสวยงาม คงทน และสะดวกในการใช้งานครั้งต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังทำการตรวจหาปลวกอย่างละเอียด เพื่อให้ปลวกนำพาสารเคมีไปสู่ส่วนต่างๆของพื้นที่ที่มีปัญหาปลวก โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. สำรวจจุดที่ปลวกกำลังเข้ากัดกินทำลาย จุดเสี่ยงต่างๆ และจุดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาปลวกได้ในอนาคต
2. วิเคราะห์วางแผนและกำหนดจุดที่จะเจาะเพื่ออัดฉีดน้ำยา
3. ใช้สว่านหัวเพชรเจาะเปิดพื้นกระเบื้อง ซึ่งมีขนาดรู เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 mm.
4. ใช้สว่านดอกยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 mm. ยาว 540 mm. เจาะตามลงไปเพื่อให้ทะลุคอนกรีตถึงผิวดิน ใต้อาคาร
5. อัดน้ำยาลงใต้พื้นดินด้วยเครื่องอัดแรงดันสูง โดยใช้หัวอัดพิเศษที่มีน้ำยาพ่นออกทุกทิศทางกระจายลงสู่ผิวดินด้านล่างตามจุดที่กำหนดไว้ รวมถึงฉีดพ่นน้ำยา ทั่วบริเวณรอบนอกอาคาร
6. ทำการปิดรูที่เจาะไว้ด้วยจุก สแตนเลส ขนาด 18 mm.
7. ทำการตรวจเช็คพื้นที่บนตัวอาคารและทำการฉีดเคลือบน้ำยาตาม วงกบ ขอบประตู รอยแยกรอย แตกต่างๆ
8. ตรวจสอบความละเอียดเรียบร้อยของงานและส่งมอบงาน